
เทคนิคการสอนโดยการใช้สื่อออนไลน์ประกอบการจัดการเรียนการสอน
พฤษภาคม 30, 2019ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนักศึกษาทุกท่าน ที่ได้รับรางวัลจากการส่งผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม
พฤษภาคม 31, 2019
การประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ (KM) คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
ประจำปีการศึกษา 2559
วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560 เวลา 11.00-11.30 น.
ณ. ห้องประชุม อาคาร 1 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
คณะกรรมการได้กำหนดหัวข้อการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์เป้าหมายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี เพื่อจัดทำแบบสรุปการจัดการความรู้ (RT-KM1) องค์ความรู้ที่ต้องการการจัดการโดยสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 1 (Hands on) และยุทธศาสตร์เป้าหมายที่ 2 (Research & Innovations)
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2559 (ครั้งที่ 1)
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2560 เวลา 12.30 – 13.30 น.
ณ. อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
คณะกรรมการด้านการผลิตบัฒฑิตทำการสรุปหัวข้อในการจัดการความรู้ครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปแบบฟอร์ม (KM1) คณะกรรมการลงมติเลือกหัวข้อเทคนิคการสอนและได้ทำการสรุปเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยแยกออกเป็นสาขาดังนี้
สาขาอาหารและโภชนาการ
- ใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน
โศภน รัตนะ (2556, หน้า 11) กล่าวว่าเอกสารประกอบการสอน หมายถึง สื่อนวัตกรรมประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนของครูหรือประกอบการเรียนของนักเรียนที่ใช้ประกอบการจัดกาเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ประภาพรรณ เส็งวงศ์ (2550, หน้า 42) กล่าวว่าเอกสารประกอบการเรียนหมายถึง เอกสารที่บอกวิธีการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนเฉพาะเรื่องหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อให้ครูหรือผู้เรียนใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหลักสูตรซึ่งจะต้องมีหัวข้อและเนื้อหาครอบคลุมและครบถ้วนตามรายละเอียดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการเรียน/รายวิชา
- แจกหนังสือเพื่ออ่านประกอบการเรียนรู้
- สร้างกิจกรรมโดยใช้ใบงาน เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน
- ใช้วัตถุดิบจริงในการเรียนการสอน
- ใช้วัสดุจำลองในการฝึกก่อนลงภาคปฎิบัติงานจริง
- เทคนิคพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน
- สร้างบรรยกาศที่ดีในการเรียนการสอน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนหมายถึงการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
- นักศึกษาหาหัวข้อที่อยากเรียนจาก Internet
- ใช้เทคนิค Flipped Classroom เพื่อเรียนรู้จากนอกห้องเรียน
หลักการของ Flipped Classroom ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้นักเรียนเข้าใจในหลักการความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้นการศึกษาความรู้จากการสอนผ่านวีดีโอที่ครูได้บันทึกไว้แล้ว รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม ปรึกษาเพื่อนหรือครูออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน ส่วนเวลาในห้องเรียน ครูก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออบแบบไว้ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ ครูก็เดินสำรวจไปรอบๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่เด็กพบ วิธีนี้จะทำให้เด็กเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการ มากยิ่งขึ้น
สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- ฝึกนักศึกษาจากการวาดเส้น ลงสี
- ฝึกนักศึกษาให้ค้นคว้าหาข้อมูลจาก Internet
- ฝึกให้นักศึกษาได้ปฎิบัติงานจริง เช่นการจัดงาน Fashion Show
- ใช้เทคนิคการลงคะแนนเสียงในการเลือกหัวข้อโครงงาน
- ใช้เทคนิค Active Learning ในการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นความสนใจ
Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์, และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (co-creators) ( Fedler and Brent, 1996)
- ใช้ IT (Information Technology) เพื่อความสะดวกในการเรียนการสอน
สาขาคหกรรมศาสตร์ (ประดิษฐ์/ปฐมวัย)
- ใช้วิธีเก็บคะแนนวัดความรู้และความรับผิดชอบ (short-test)
- ใช้ข้อตกลงในการลงชื่อเข้าเรียน เพื่อวัดความตั้งใจและความรับผิดชอบของนักศึกษา
- ใช้ข้อตกลงในการใช้เครื่องมือสื่อสารระหว่างเรียน
- ใช้ Email ในการส่งเอกสารประกอบการเรียนการสอนให้นักศึกษา
- ใช้แบบฝึกหัดเพื่อให้นักศึกษาทบทวนความรู้นอกห้องเรียน และเพื่อการเก็บคะแนน
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2559 (ครั้งที่ 2)
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 เวลา 11.30-13.00 น.
ณ. ห้อง 2202 อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการผลิตบัณฑิตประชุมทำ KM เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
ได้ทำการทบทวนแบบฟอร์ม KM2 ของการประชุมครั้งที่ 1 เพื่อทำการสรุปผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ในแบบฟอร์ม KM3
ผลการประชุมได้ข้อสรุปที่แน่ชัดในการได้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนของผู้ทรงคุณวุติจากทั้ง 3 สาขาวิชาของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
ซึ่งเทคนิคการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ได้ถูกนำเสนอให้กับกลุ่มเป้าหมายคือ อาจารย์บรรจุใหม่ อายุงานไม่เกิน 5 ปี ทั้ง 3 สาขาวิชา กลุ่มเป้าหมายได้ข้อสรุปแนวคิด มุมมองของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
- การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ซึ่งเป็นกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า
ในการประชุมครั้งที่สองกลุ่มเป้าหมายยังได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการใช้ “บัตรคำ”ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้นักศึกษาได้สัมผัส หยิบ จับ เนื้อหาสาระจริง
มากกว่าแค่การฟัง หรือท่อจำจากเอกสาร และยังได้มีการโต้ตอบ การคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกอย่างมากต่อการเรียนรู้แบบ Active