![](https://het.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2019/05/A78BB273-0F94-421D-8F2B-A4FE6828D5FF.jpeg)
กำหนดการส่งแบบคำขอกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562
พฤษภาคม 17, 2019![](https://het.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2019/05/2888DA37-BD2A-415A-9D3F-E0A655FB9362.jpeg)
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
พฤษภาคม 30, 2019![](https://het.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2019/05/kmChamp.jpg)
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 1)
วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 12.30 – 13.30 น.
ณ. อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
คณะกรรมการด้านการผลิตบัฒฑิตทำการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการเทคนิคการจัดการเรียนการสอนด้วยการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ กำหนดเวลา 3 นาทีต่อรายบุคคล (ครั้งที่ 1)
ผศ.เกษรา มานันตพงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบ Flipped classroom ซึ่งได้รับการถ่ายทอดขยายผลจากผู้เข้าร่วมอบรมฟินแลนด์โมเดลในรุ่นก่อนหน้า และมีการให้การบ้านสืบค้นทางสื่อออนไลน์ ซึ่งการใช้สื่อออนไลน์เป็นโจทย์ในการค้นคว้า จะทำให้นักศึกษาได้กำหนดเป้าหมายการสืบค้นแต่หัวข้อที่ทันสมัย เมื่อเข้าห้องเรียนตามตารางเรียนปกติ นักศึกษาได้กลับมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้จากแหล่งที่มาของข้อมูลที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นกว่าการเรียนจากตำราเรียนเพียงอย่างเดียว ลองคิดดูว่าในการเรียนที่เน้นการบรรยายและถ่ายทอดเนื้อหาของบทเรียนเป็นหลักนั้น ผู้เรียนจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการจดจำในสิ่งที่ผู้สอนถ่ายทอดมากกว่า แต่ในทางตรงข้าม รูปแบบของ Flipped Classroom ที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ให้ได้ทำกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิดเกี่ยวกับแนวคิดหลักหรือแก่นของความรู้นั้นๆ (core concept) ช่วยให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนยังต้องการความรู้หรือขาดความเข้าใจในส่วนใด ต้องการคำชี้แนะอย่างไรบ้าง บรรยากาศในห้องเรียนลักษณะนี้ดีกว่าการมุ่งบรรยายสาระความรู้ที่ผู้สอนต้องการให้ครบถ้วนตามแผนการสอนในลักษณะของการสื่อสารทางเดียว แต่ไม่สามารถสร้างส่วนร่วมหรือดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน ฉะนั้น เหตุผลประการหนึ่งที่น่าสนใจของ Flipped คือ การเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากกิจกรรมที่ให้ฝึกฝนนั้นจะช่วยให้ผู้สอนรู้ feedback ว่านักเรียนมีความรู้ มีทักษะหลังจากการเรียนไปแล้วดังที่คาดหวังไว้หรือไม่ได้เป็นอย่างดี
ผศ.วินัย ตาระเวช (สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์)
จัดการสอนโดยหลักการใช้วีดีโอบันทึกสื่อการเรียนการสอนเพื่อที่จะช่วยการเพิ่มเวลาศึกษาหาความรู้กับนักศึกษา ใช้ในการถ่ายทอดในสื่อ Social network ใช้บันทึกกิจกรรมระหว่างคาบเรียน และใช้ใช้เทคนิกการเรียนการสอนทางไกลด้วยคลิปวีดีโอ เพื่อความสะดวกในการติดตามการเรียน แต่ก็ใช่ว่า Social Network จะมีแต่ข้อดี เพราะถึงแม้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ก็จริง แต่ถ้านำไปใช้ไม่ถูกทาง หรือเหมาะสมก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การแชร์ข้อมูลข่าวสารที่ผิดจากความเป็นจริง เป็นต้น ดังนั้น Social Network จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ของแต่ละคน
อาจารย์ชมุค สร้างศรีวงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
ได้จัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้ Facebook เพื่อสร้างกลุ่มปิดเพื่อการติดต่อสื่อสาร ส่งผลงาน ซึ่งจะทำให้ง่ายขึ้นต่อการจัดการเรียนการสอนนอกตารางเรียนเพื่อเพิ่มเติมเวลาเรียนให้กับนักศึกษา และยังสะดวกต่อการตรวจสอบความสนใจในบทเรียนของนักศึกษาผ่านการตอบข้อความใน Facebook อีกด้วย กรณีมีกิจกรรมเยอะ ได้ใช้เทคนิค Video conference แบบกลุ่มปิดในการเรียน และช่วยเรื่องการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ มีข้อเสีย คือการควบคุมความสนใจในการฟังเนื้อหาตั้งแต่ต้นถึงจบคาบเรียนออนไลน์
อาจารย์ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
อาจารย์ได้ใช้เวปไซค์สื่อออนไลน์ YouTube เป็นสื่อช่วยสอน การใช้วิดีโอทางวิชาการเข้ามาช่วยการจัดการเรียนการสอน จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจ ทันสมัย ซึ่งนักศึกษาจะให้ความสนใจในห้องเรียนมากกว่าการจัดการสอนแบบดั้งเดิมที่อาจารย์ยืนหน้าชั้นเป็นผู้สอนอยู่คนเดียว และเทคนิค Flipped classroom ที่อาจารย์ได้รับการอบรมฟินแลนด์โมเดล เพื่อการแจกจ่ายงานที่เหมาะสมกับการศึกษาและการทำงานนอกตารางให้กับนักศึกษา
อาจารย์ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล (สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม)
อาจารย์ได้ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom ที่ได้รับการขยายผลการอบรมมาจากการอบรมฟินแลนด์โมเดลของผู้เข้ารับการอบรมรุ่นก่อนหน้า ในการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาและคิดก่อนเข้าสู่ห้องเรียนจริง โดยการมอบหัวข้อการเรียนให้นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูลก่อนหน้าที่จะเข้าชั้นเรียน การใช้การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยเทคนิค Pre-test และ Post-test การจัดการสอนของอาจารย์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยดูได้จากความสนใจของนักศึกษา และคะแนนที่เพิ่มขึ้นของ Post-test และคะแนน Pre-test ในสัปดาห์ถัดไป
===============
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 2)
วันพุธที่ 8 มกราคม 2561 เวลา 11.30-15.00 น.
ณ. ห้อง 2202 อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
– การแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ผู้ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ (ครั้งที่ 2)
ผศ.เกษรา มานันตพงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
การจัดการเรียนการสอนที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จคือการจัดแบบ Flipped classroom ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีเวลาว่างในการศึกษาหาข้อมูลในหัวข้องานที่ได้รับมอบหมายจากในคาปเรียน นักศึกษายังสามารถกลับมาสอบปฏิบัติงานในคาปเรียนในสัปดาห์ต่อไปได้อย่างดีขึ้นด้วย
ผศ.วินัย ตาระเวช (สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์)
อาจารย์จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการดึงเอาการใช้ระบบของ Social Network มาประยุกต์ ยกตัวอย่างเช่น Facebook และโปรแกรม LINE การที่นักศึกษาได้อยู่กับสิ่งที่เค้าสนใจเป็นที่ตั้ง และได้เรียนรู้โดยการศึกษากับสิ่งที่เค้าสนใจจะทำให้การเรียนมีความน่าสนใจและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมาก ผู้เรียนสามารถค้นคว้าดูการออกแบบงานประดิษฐ์ได้หลากหลายผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ผลงานที่ได้มีความสดใหม่ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น Social Network เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้ตื่นตัว และตระหนักขึ้นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และการได้แนวคิดในการพัฒนาชิ้นงานของตนเองอยู่เสมอ
อาจารย์ชมุค สร้างศรีวงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
ดิฉันได้นำเอา Facebook ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อทางการติดต่อแบบออนไลน์ที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก โดยนำมาประยุกต์ใช้กับนักศึกสาขาอาหารและโภชนาการคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผมที่ได้รับเป็นผลในเชิงบวก นักศึกษาสามารถติดตามเนื้อหาที่ดิฉันสรุปไว้ใน Facebook ได้ตลอดเวลา สามารถส่งงานได้เป็นรายบุคคลในกล่องข้อความ และยังสามารถแสดงความคิดเห็น การให้ Feedback ของการทำงานได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความยึดหยุ่นในการศึกษานอกห้องเรียน และมีประสิทธิภาพที่ดีมากอีกด้วย
อาจารย์ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
ผมจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการดึงเอา YouTube มาประยุกต์ การที่นักศึกษาได้อยู่กับสิ่งที่เค้าสนใจเป็นที่ตั้ง และได้เรียนรู้โดยการศึกษากับสิ่งที่เค้าสนใจจะทำให้การเรียนมีความน่าสนใจและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมาก ยกตัวอย่างเช่นผมให้การบ้านนักศึกษาให้ไปหาข้อมูลด้านสูตรอาหารใน YouTube ผลที่ได้รับคือนักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลสูตรอาหารที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับเนื้อหาทางวิชาการของรายวิชาอีกด้วย
อาจารย์ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล (สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม)
อาจารย์ได้ใช้ Flipped classroom เป็นแนวทางการจัดการสอน เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาต้องรับกับสภาวะการทำงานหรือ การบ้านที่ได้รับมอบหมายมาจากแต่ละรายวิชา ซึ่งมีข้อจำกัดในการกระจายภาระงานให้มีผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งการได้นำเอา Flipped classroom ประยุกต์การจัดการสอน ทำให้อาจารย์สามารถชี้แนะหัวข้อที่ควรศึกษามาก่อนเข้าห้องเรียน เมื่อนักศึกษามีความรู้ทฤษฏีแล้ว การปฎิบัติงานในคาปนั้นๆ ก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของผลงานการตัดเย็บของผู้เรียน
===============
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 3)
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.00-15.00 น.
ณ. ห้อง 2202 อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
– การแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ผู้ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ (ครั้งที่ 3)
– สร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้บนระบบสารสนเทศเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการผลิตบัณฑิตประชุมทำ KM เรื่องเทคนิคการสอนโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ประกอบการจัดการเรียนการสอน ได้ทำการประชุมด้านการเข้าถึงความรู้ โดยมีหัวข้อติดตามดังต่อไปนี้
- การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ผ่านการกลั่นกรองลงบนสื่อสารสนเทศ
- การจัดอบรมเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับอาจารย์กลุ่มเป้าหมาย
ผลการประชุมคือการมีสื่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ KM เรื่องเทคนิคการสอนโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ประกอบการจัดการเรียนการสอน ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และดำเนินการสร้างแบบฟอร์มสำหรับการเก็บข้อมูลสำหรับอาจารย์ที่ได้นำใช้เทคนิคการใช้สื่อการสอนสมัยใหม่กับรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบในภาคเรียน 2/2560 ดังต่อไปนี้
เทคนิคการสอนโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ประกอบการจัดการเรียนการสอน (KM ประจำปีการศึกษา 2560)
วิธีการสอนโดยการใช้เทคโนโลยี (โปรแกรมคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน ฯลฯ)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การประเมินผลการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 4)
วันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 เวลา 13.00-15.00 น.
ณ. ห้อง 2202 อาคาร 2 ชั้น 2 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
– การแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ผู้ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ (ครั้งที่ 4)
– การจัดอบรมเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับอาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุม
อาจารย์ชมุค สร้างศรีวงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนทางออนไลน์ เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้ เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร ช่องทางสื่อสารมีลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง ฯลฯ วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรืออาจเรียนรู้จากเว็บไซต์ ที่นำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย
อาจารย์ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
สื่อออนไลน์เป็นสื่อเสรีที่มีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบันอย่างมากเพราะเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการเรียนรู้ในโลกยุคปัจจุบัน สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกสื่อ สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นขยายการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รับส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร้ขีดจำกัดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถบูรณาการขยายองค์ความรู้จากห้องเรียนไปยังทุกหนทุกแห่ง โดยอาศัยสื่อสังคมหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์(Social Media)เป็นช่องทาง สื่อออนไลน์จึงเป็นสื่อที่มีคุณูปการยิ่งสำหรับการศึกษายุคนี้
อาจารย์ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล (สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม)
ยุคนี้เราใช้การสืบค้นและรับข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น มนุษย์สามารถเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จากการค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต การรับฟังรายการวิทยุผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมากใช้วิธีสืบค้นข้อมูลจากกูเกิล (Google) มากกว่าการค้นคว้าจากหนังสือในห้องสมุด ตลอดจนรับชมคลิป (Clip)ต่าง ๆ ผ่านยูทูป (YouTube)
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 5)
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30-15.00 น.
ณ. ห้องจัดประชุม แคนทารี เบย์ โฮเทล แอนด์ เซอร์วิส จังหวัดระยอง
– การแลกเปลี่ยนความรู้ของอาจารย์ผู้ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ (ครั้งที่ 5)
– การติดตามผลการดำเนินงานการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนจากกลุ่มอาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุม
อาจารย์ชมุค สร้างศรีวงศ์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
ด้านการเรียนการสอนาด้วยสื่อออนไลน์ จำเป็นเหลือเกินที่ผู้สอนต้องกลั่นกรอง เลือกเฉพาะข้อมูลที่เหมาะสมและทันสมัยผู้สอนต้องใช้เวลาในการคัดเลือกเรื่องราว ข่าวสารและทรัพยากรมากมายจากรูปแบบหลากหลายที่มีอยู่ เพราะ ข้อมูลที่คัดเลือกมานั้น ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มพูนข้อมูล และประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้จักเลือกเรื่องราวจากสื่อออนไลน์ที่สร้างสรรค์เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ยังมีภาระหน้าที่ในการให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ต กำหนดแนวทางควบคุมดูแลและบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันผู้สอนเองคงไม่อาจหลีกเลี่ยงภาระในการดูแล แนะนำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีทักษะในการเลือกเทคโนโลยีและมีความสามารถในการแยกข้อมูล เลือกใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์และมีคุณภาพ
อาจารย์ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ (สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ)
วิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนการสอนประเภท-แบบต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่ครูหรืออาจารย์ในยุคปัจจุบันนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และสามารถนำวีธีการใช้งานสื่อๆสังคมออนไลน์ต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เฟซบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้หรือ แอพพลิเคชั่น (Applications) เพื่อการศึกษาจำนวนมากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ
สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 6)
วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา -13.30-15.00 น.
ณ. ห้องจัดประชุม แคนทารี เบย์ โฮเทล แอนด์ เซอร์วิส จังหวัดระยอง
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบด้านการผลิตบัณฑิตประชุมทำ KM เรื่องเทคนิคการสอนโดยการใช้สื่อสมัยใหม่ประกอบการจัดการเรียนการสอนจัดประชุมเพิ่มการติดตามผลการสรุปเล่มรายงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560 โดยได้ข้อสรุปจากที่ประชุมเพื่อตรวจสอบหัวข้อของเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเผยแพร่ข้อมูลต่อไป ดังหัวข้อต่อไปนี้
- ความหมายของสื่อการสอน
- การเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้ Social network
- เทคนิคการสอนแบบ Flipped classroom
- การเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้ Facebook
- การเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้ YouTube
- สรุปการประชุมการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2560
- ประมวลภาพกิจกรรม KM ประจำปีการศึกษา 2560
- คณะกรรมการการจัดการองค์ความรู้ KM ประจำปีการศึกษา 2560
Read More